จารึกวัดพระธาตุพนม ๖

1
4,993 views

ผู้อ่านธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. ๒๕๓๐)

ผู้แปลธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. ๒๕๓๐)

เชิงอรรถอธิบาย๑. ธวัช ปุณโณทก : ภายใน = ภายในคณะสงฆ์, กรรมการฝ่ายสงฆ์ ๒. ธวัช ปุณโณทก : ภายนอก = กรรมการฝ่ายฆราวาส ๓. ธวัช ปุณโณทก : หอสูต = หอสวดมนต์ ๔. ธวัช ปุณโณทก : คำมัก = คำที่ดีอันเป็นที่พึงประสงค์ ๕. ธวัช ปุณโณทก : ทล้า = ทั้งหลาย

ชื่อจารึก จารึกวัดพระธาตุพนม ๖
อักษรที่มีในจารึก ธรรมอีสาน,
ศักราช พุทธศักราช  ๒๔๖๖
ภาษา ไทย,
ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๘ บรรทัด
วัตถุจารึก หินทราย
ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา
ขนาดวัตถุ กว้าง ๖๕ ซม. สูง ๑๖๐ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดพระธาตุพนม ๖”
ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานที่พบ หน้ากุฏิพระในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
ปัจจุบันอยู่ที่ หน้ากุฏิพระในวัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
พิมพ์เผยแพร่ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๔๖ – ๔๔๗.
ประวัติ ศิลาจารึกหลักนี้ ได้มาจากบ้านใต้ หลังโรงเรียนพนมวิทยาการ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
เนื้อหาโดยสังเขป พระครูสีลาภิรัตน์ พร้อมทั้งคณะสงฆ์และทายกทายิกาทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันสร้างหอสวดมนต์
ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
การกำหนดอายุ ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๑ ระบุ พ.ศ. ๒๔๖๖ อันเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘)
ข้อมูลอ้างอิง เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก :
๑) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกวัดพระธาตุพนม ๖,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๔๖ – ๔๔๗.
๒) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓), ๔๑๑ – ๔๓๒.
ภาพประกอบ ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๕ (เลขทะเบียน CD; INS-TH-14, ไฟล์; Nph_00600_c)

ที่มา : http://www.eighteggs.com/sac_complete/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2423

แสดงความเห็น

comments