ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์มีนามเดิมว่า จันทร์ สุวรรณมาโจ

0
943 views
ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์มีนามเดิมว่า จันทร์ สุวรรณมาโจ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2424 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 (เดือนอ้าย) ปีมะเส็ง เป็นบุตรคนที่ 3 (ในจำนวน 6 คน) ของนายวงศ์เสนาและนางไข สุวรรณมาโจ มีอาชีพทำนาทำไร่ ชาติภูมิอยู่บ้านท่าอุเทน หมู่ 3 ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ในวัยเยาว์ เด็กชายจันทร์ สุวรรณมาโจ มีสุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรง เพราะป่วยเป็นโรคหืดครั้นเจริญวัยใหญ่โตขึ้นมาโรคนี้ก็หายขาดไป จนกระทั่งท่านมีอายุได้ 60 ปี โรคนี้ก็กลับกำเริบขึ้นมาอีก พ.ศ.2431 เด็กชายจันทร์ ได้เรียนหนังสืออักษรไทยน้อย หัดเขียนหัดอ่านจากหนังสือผูกโบราณ วรรณคดีพื้นบ้านซึ่งประชาชนในสมัยนั้นนิยมอ่านกันมาก พ.ศ.2434
ขณะที่เด็กชายจันทร์ อายุได้ 10 ขวบ นายวงศ์เสนา สุวรรณมาโจ ผู้เป็นบิดาได้ล้มป่วยและถึงแก่กรรม ในการทำปฌาปนกิจศพของบิดา เด็กชายจันทร์ ได้บรรพชาเป็นสามเณร (บวชหน้าไฟ) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา โดยมีพระขันธ์ ขนฺติโก วัดโพนแก้ว ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัฌาย์ หลังจากเสร็จงานศพของบิดาแล้ว สามเณรจันทร์ ก็มิได้ลาสิกขา มุ่งหน้าชวชต่อไปเพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนตามประเพณี การศึกษาเล่ารียนในสมัยนั้น หนังสือที่ใช้เป็นอุปกรณ์แล้วเป็นคัมภีร์โบราณเขียนจารเป็นอักษรขอมอักษรธรรม ยากแก่การศึกษาเล่าเรียน ต้องอาศัยความเพียรพยายามอย่างมากจึงจะประสบความสำเร็จสามเณรจันทร์ได้ศึกษาอักษรสมัยกับพระอาจารย์เคน อุตฺตโม เมื่อแตกฉานเชี่ยวชาญดีแล้วจึงเรียนบาลีเดิมที่เรียกว่ามูลกัจจายน์และคัมภีร์ สัททาสังคหปฏิโมกข์ ปรากฏว่าสามเณรจันทร์อ่านเขียนและท่องจำได้คล่องแคล่ว จนมีผู้มาขอร้องให้ท่านช่วยจารหนังสืออักษรขอม อัษรธรรมอยู่เสมอ
นอกจากสนใจในด้านปริยัติแล้วสามเณรจันทร์ สุวรรณมาโจ ก็ยังสนใจในการปฏิบัติกรรมฐานอีกด้วย จึงได้ไปศึกษากรรมฐานในสำนักของพระอาจารย์ศรีทัศน์ ที่วัดโพนแก้ว เป็นเวลาหลายปีพระอาจารย์ศรีทัศน์นับว่าเป็นพระสงฆ์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบำเพ็ญกรรมฐาน แสวงหาวิเวกในสถานที่ต่างๆ จนถึงเขตประเทศพม่าและได้รับพระรบมสารีริกธาตุจากพม่า
ครั้นเดินทางกลับถึงอำเภอท่าอุเทนแล้วได้ชักชวนประชาชนก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทนขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากประเทศพม่าใช้เวลา สร้าง 7 ปี จึงแล้วเสร็จ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระธาตุท่าอุเทนจึงเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งของจังหวัดนครพนม ตั้งตระหง่านอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโขงจนถึงทุกวันนี้ สามเณรจันทร์ สุวรรณมาโจ ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัยและปฏิบัติกรรมฐานอยู่มาจนถึงอายุ 19 ปี ในขณะเดียวกันท่านก็รู้สึกเป็นห่วงโยมมารดาและครอบครัว อยากจะช่วยเหลือครอบครัวให้รอดพ้นจากความอยากยากจน คราวใดได้ลาภสักการะมา ก็มักจะส่งไปให้โยมมารดาในกาลต่อมา
เพื่อนสามเณรรุ่นเดียวกันมาชักชวนให้ลาสิกขาไปทำการค้า สามเณรจันทร์ เห็นว่าเป็นหนทางที่จะร่ำรวยช่วยเหลือทางบ้านได้จึงตัดสินใจไปขอลาสิกขากับพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านก็อนุญาตให้สึกได้ตามประสงค์ หลังจากสึกแล้ว นายจันทร์ก็เข้าหุ้นกับเพื่อนร่วมกันทำมาค้าขาย ตอนแรกรู้สึกว่าร่ำรวยทำมาค้าขึ้น ในระหว่างนั้นก็มีเจ้านายที่เคารพนับถือมาขอร้องให้ไปช่วยจารหนังสือขอมหนังสือธรรมให้อยู่เสมอ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาดูแลการค้าขายอย่างเต็มที่ ส่วนเวลากลางคืนยังมีเจ้านายมากะเกณฑ์ให้ไปอยู่เวรยามมิได้ขาด ชั่วเวลาเพียงไม่กี่เดือน การค้าขายที่คาดกันไว้ว่าจะรวยกลับมีแต่ทรุด เป็นเหตุให้นายจันทร์ เกิดความเบื่อหน่าย ต้องล้มเลิกกิจการไป ท่านรู้สึกไม่สบายใจในชีวิตฆราวาส ซึ่งมีแต่ความสับสนวุ่นวายแก่งแย่งเอารัดเอาเปรียบกัน หาความเที่ยงธรรมและความสงบสุขได้ยากนอกจากนี้
ตลอดระยะเวลา 5 เดือน ที่อยู่เป็นฆราวาส หนุ่มจันทร์ยังมีสตรีเพศเข้ามาติดต่อพันยั่วยวนด้วยวิธีการต่างๆ นานา ยิ่งทำให้หนุ่มจันทร์รู้สึกอึดอัดใจ ในที่สุดหนุ่มจันทร์ก็ตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะกลับมาบวชอีก ประกอบกับตอน นั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงมุ่งหน้าเข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ.2445 โดยมีพระภิกษุเหล่า ปญฺญาวโร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เคน อุตฺตโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หนู วิริโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมิโย” อุปสมบท ณ วัดโพนแก้ว และประจำอยู่ที่วัดนี้หลังจากที่อุปสมบทแล้วพระภิกษุจันทร์ เขมิโย ก็ถูกพวกสตรีเพศที่เคยมาติดพันท่านสมัยเป็นฆราวาส มารบกวนไปมาหาสู่อยู่เนืองๆ ท่านเห็นว่า ถ้าขืนอยู่ที่วัดโพนแก้วต่อไปสตรีเพศคงจะมารบกวนยั่วยวนเช่นนี้เรื่อยไป จะทำให้เกิดความเศร้าหมองแก่เพศพรหมจรรย์เข้าสักวันจึงตัดสินใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ย้ายไปอยู่วัดพระอินทร์แปลง และในขณะเดียวกันพระอาจารย์เคน อฺตฺตโม ผู้ที่เคยอบรมสั่งสอนท่าน ต้องย้ายไปอยู่วัดพระอินทร์แปลง เพื่อเป็นเจ้าอาวาส ดังนั้นพระภิกษุจันทร์ เขมิโย จึงย้ายติดตามพระอาจารย์เคนไปด้วย ในปี พ.ศ.2445 นั่นเอง
พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานพร้อมด้วยพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปญฺโญ) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นพระครูอยู่วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้เดินทางผ่านมาถึงจังหวัดนครพนม มาปักกลด ปฏิบัติธรรมอยู่ภายใต้ต้นโพธิ์ ตอนใต้เมืองนครพนม ประชาชนจำนวนมากพากันไปกราบไหว้ฟังธรรมและขอรับแนวทางการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญสมาธิมิได้ขาด พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงเมืองนครพนมทราบข่าว จึงไปกราบนมัสการ และสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ทั้งสอง กราบพบปะสนทนากันในครั้งนั้น ท่านพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ได้ชี้แจงความเป็นมาของตน ว่าเคยเป็นศิษย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิราญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พร้อมทั้งได้เล่าถึง พฤติกรรมของพระภิกษุสามเณร ในจังหวัดนครพนมให้ท่านทราบ และขอให้ช่วยหาทางแก้ไขด้วย พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล จึงแนะนำให้เสาะหาคัดเลือกพระภิกษุสามเณรผู้เฉลียมฉลาดมีความประพฤติดี และสมัครใจที่จะทำทัฬหิกรรมญัตติ เป็นภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตติกนิกาย เพื่อไปอยู่ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติในสำนัก ของพระอาจารย์ทั้งสอง ให้มีความหนักแน่นมั่นคงในพระธรรมวินัยแล้วจึงส่งกลับ มาอยู่นครพนมตามเดิม จะได้ช่วยกันแก้ไขความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณร ในจังหวัดนครพนมให้ดีขึ้น
ท่านพระยาสุนทรฯ ข้าหลวงเมืองนครพนมได้เสาะแสวงหาพระภิกษุสามเณรที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ทาบทามพระภิกษุได้ 5 รูป และสมาเณรอีก 1 รูป 4 รูปนั้นมีพระภิกษุจันทร์ เขมิโยรวมอยู่ด้วย พระยาสุนทรฯ ได้นำพระภิกษุสามเณร ทั้ง 5 รูปมาถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์เสาร์และพระปัญญาพิศาลเถระ สำหรับพระภิกษุจันทร์ เขมิโย นั้นมีความรู้พื้นฐานทางสมถกรรมฐานอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้ามาเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ จึงรู้สึกถูกอัธยาศัยเป็นอย่างยิ่ง ข้อวัตรปฏิบัติใดที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ตั้งใจศึกษาและเรียนถามจากครูบาอาจารย์ พร้อมทั้งใส่ใจฝึกปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจัง มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ กรรมฐานอย่างรวดเร็ว ในปลายปี พ.ศ.2445 พระอาจารย์เสาร์และพระปัญญาพิศาลเถระ ก็ได้อำลาประชาชนเดินทางกลับสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพระภิกษุ 4 รูป คือ พระภิกษุจันทร์ เขมิโย (คือท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์) พระภิกษุสา พระภิกษุหอม พระภิกษุสังข์และสามเณรอีก 3 รูป ในจำนวน 3 รูปนี้ มีสามเณรจูม จันทรวงศ์ (ต่อมาได้เป็นพระธรรมเจดีย์) รวมอยู่ด้วยคณะของพระอาจารย์เสาร์ ได้จาริกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ หยุดพักรอนแรมกลางป่าดงพงไพร ได้พบสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ มีช้าง กวาง ละมั่ง ควายป่า เป็นต้น
เมื่อเจอสัตว์ป่า พระอาจารย์เสาร์ ก็สั่งให้คณะ นั่งลงกับพื้นดิน แล้วแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น พระภิกษุสามเณรทุกรูป ก็แคล้วคลาดปลอดภัย ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์เล่าไว้ว่า ในการบำเพ็ญกรรมฐานในป่า นั้น ประการสำคัญ ต้องทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ซึ่งผู้ปฏิบัติทั่วไป มักจะมีความวิตกกังวล ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ต่อจากนั้นก็มีอันเป็นไป หากมีศีลบริสุทธิ์ จิตก็สงบเป็นสมาธิได้ง่าย และ อีกประการหนึ่งจะต้องยึดมั่น ในพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณอยู่เสมอ ในการเดินทางครั้งนั้น คณะของพระอาจารย์เสาร์ได้เดินทางมาทางพระธาตุพนม ไปมุกดาหาร อำนาจเจริญแล้วเข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี ไปพำนักอยู่วัดเลียบ ในขณะเดียวกันพระภิกษุจันทร์ เขมิโย ก็เป็นพระพี่เลี้ยงอบรมอักขระ ฐานกรณ์ และคำขอญัตติ เพื่อทำทัฬหิกรรม เป็นพระธรรมยุติต่อไป เมื่อท่องบทสวดต่างๆ ได้คล่องแคล่วแล้วพระอาจารย์เสาร์ก็นำคณะพระภิกษุจันทร์ไปประกอบพิธีทัฬหิกรรมญัตติเป็นพระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตโดยสมบรูณ์ ณ พระอุโบสถ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระสังฆรักขิโต (พูน) วัดศรีทองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูหนู ฐิตปญฺโญ (คือ พระปัญญาพิศาลเถระ) วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษอุบลคุณ (พระอาจารย์สุ้ย) เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเดิมคือ “เขมิโย” หลังจากที่อุปสมบทแล้ว พระภิกษุจันทร์ ก็พักอาศัยอยู่วัดเลียบ ศึกษา ข้อวัตรปฏิบัติกับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ทางด้านการศึกษาปริยัติธรรม พระภิกษุจันทร์ก็มิได้ ทอดทิ้ง ท่านสนใจในการเรียนรู้ อย่างมิรู้เบื่อหน่าย พยายามศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่ได้แก่ วิชาธรรมะ วิชาวินัย วิชาพุทธประวัติ และวิชาอธิบายกระทู้ธรรม ซึ่งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้นำมาเผยแพร่ที่อุบลฯ ส่วนแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานนั้น พระภิกษุจันทร์ได้ฝึกอบรมในสำนักของ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และ พระปัญญาพิศาลเถระจนมีความรู้ความก้าวหน้าทั้งด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติ อย่างแท้จริง มีจิตใจคงมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งเย้ายวน
ทางด้านพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมได้มีหนังสือไป นมัสการพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล อีกฉบับหนึ่งส่งไปกราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ประจำมณฑลอุบลราชธานี เพื่อขอ นิมนต์ตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กลับไปตั้งสำนักคณะกรรมยุตติกนิกายขึ้นที่เมือง นครพนม พระอาจารย์เสาร์ จึงนำพระภิกษุจันทร์เข้าพบกรมหลวงสรรพสิทธิฯ พระองค์ ท่านทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุจันทร์ยังหนุ่มน้อย เช่นนั้นจึงรีบสั่งด้วยความห่วงใยว่า “พระอย่างคุณน่ะหรือจะนำคณะธรรมยุติไปตั้งที่จังหวัดนครพนม รูปร่างเล็ก ยังหนุ่มแน่น ประสบการณ์ยังอ่อนหาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะได้ไม่น่าจะไปตาย เพราะผู้หญิงฉัน เกรงว่าจะนำวงศ์ธรรมยุติไปทำเสื่อมเสียซะมากกว่า… ” พระอาจารย์เสาร์ได้ฟังดังนั้น จึงถวายพระพรเล่าถึงปฏิปทาจรรยามารยาทและความเป็นผู้หนักแน่นในพระธรรมวินัยของพระภิกษุจันทร์ผู้เป็นศิษย์ ให้ทราบทุกประการหลังจากได้ฟังคำบอกเล่าจากพระอาจารย์เสาร์แล้ว กรมหลวงสรรพสิทธิฯ ก็ทรง อนุญาตให้พระภิกษุจันทร์กับคณะเดินทางไปนครพนมพร้อมกับทรงออกหนังสือรับรอง เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้หนึ่งฉบับมีใจความว่า “ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเส้นทางที่เดินผ่านให้จัดคนตามส่งตลอดทางพร้อมทั้งให้จัดที่พัก อาศัยและภัตตาหารถวายด้วย” พระภิกษุจันทร์ เขมิโย พร้อมด้วยคณะได้ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่นครพนม ผ่านป่าดงเข้าหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในเส้นทาง ประชาชนทราบข่าวก็พากันไปกราบไหว้ แสดงความชื่นชมโสมนัสท่านได้แสดงธรรมโปรดประชาชนมาเป็นระยะๆ การเดิน ทางไปสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะไม่มีถนน รถยนต์ก็ไม่มี คงมีแต่ทาง เดินเท้ากับทางเกวียน ซึ่งพวกพ่อค้าใช้เป็นเส้นทางติดต่อค้าขาย คณะของพระภิกษุจันทร์ เดินทางรอนแรมมาเป็นเวลา 21 วันจึงลุถึงเขตเมืองนครพนมไปหยุด ยับยั้งอยู่บ้าน หนองขุนจันทร์ทางทิศใต้เมืองนครพนม พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์เจ้าเมืองนครพนม ทราบข่าวก็จัดขบวนออกไปต้อนรับ นิมนต์พระสงฆ์สามเณรขึ้นนั่งบนเสลี่ยงหามแห่เข้า เมืองนำไปพักอาศัยอยู่ ณ วัดศรีขุนเมือง (วัดศรีเทพประดิษฐาราม) นับจำเดิมตั้งแต่นั้น (พ.ศ.2449) เป็นต้นมา
คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตตินิกายได้ ปักหลักตั้งมั่นในจังหวัดนครพนมพระภิกษุจันทร์ เขมิโย ได้ใช้ความรู้ความสามารถ พัฒนา วัดศรีขุนเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา แต่ก่อนวัดศรีขุนเมือง เป็นวัดรกร้าง ว่างเปล่าไม่มี พระสงฆ์อยู่อาศัย สภาพโดยทั่วไปจึงรกร้าง เสนาสนะและพระอุโบสถ ทรุดโทรม พระภิกษุจันทร์ได้ขอความอุปถัมภ์บำรุงจากทางราชการซึ่งมีพระยาสุนทรเพทกิจจารักษ์เป็นประธานและขอความอุปถ้มภ์จากชาวบ้านซึ่งมีขุนทิพย์สมบติ เป็นหัวหน้า ปรากฏว่าได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายด้วยดี หลังจากที่กลับมาอยู่นครพนม พระภิกษุจันทร์มีงานที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่าง ทั้งงานปกครองงานการศึกษา และงานเผยแผ่อบรมสั่งสอนประชาชน ในโอกาสต่อมาทาง ราชการประสงค์จะแต่งตั้งท่านให้เป็นเจ้าคณะเมือง (คือ เจ้าคณะจังหวัด) ฝ่ายธรรม ยุต ท่านได้พิจารณาเห็นว่าตัวเองยังมีอายุพรรษาน้อยเพียง 7 พรรษาเท่านั้นขาดประสบ การณ์และความรู้ก็น้อย ท่านจึงปฏิเสธไม่ขอรับตำแหน่งดังกล่าว แต่ขอเวลาไปศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมที่กรุงเทพฯ เมื่อทราบความประสงค์ดังนั้นพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ก็ได้ทำหนังสือส่วนตัวฉบับหนึ่ง กราบเรียนท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ เจ้าอาวาส วัดเทพศิรินทราวาสเพื่อขอฝากฝังพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กับคณะให้ได้พักอาศัย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ในปี พ.ศ.2451 พระภิกษุสามเณรจำนวน 5 รูป ซึ่งมีพระจันทร์ เขมิโยเป็น หัวหน้าก็ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยเดินเท้าจากนครพนมไปขึ้นรถไฟที่โคราช สิ้นเวลา 24 วัน จากนั้นนั่งรถไฟจากโครราชเข้ากรุงเทพฯ ไปพักอยู่วัดเทพศิรินทราวาส ตั้งใจ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี ได้รับพัดตราธรรมจักรไว้เป็น ประกาศนียบัตร ส่วนบาลีสอบไล่ได้ประโยค ป.ธ.2 กำลังหัดแปลพระธรรมบท เพื่อสอบประโยค ป.ธ.3 ก็ได้รับหนังสือนิมนต์จากพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม ในหนังสือฉบับนั้นกล่าวว่า พระสงฆ์ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีเทพประดิษฐาราม ได้มรณภาพลง ไม่มีผู้ใดจะทำหน้าที่ดูแลวัด และ ปกครองพระสงฆ์สามเณร ดังนั้นจึงขอให้พระภิกษุจันทร์ เขมิโย เดินทางกลับ นครพนม ในขณะเดียวกัน พระยาสุนทรฯ ก็มีหนังสืออีกสองฉบับไปถวาย ท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ และทูลถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กราบทูลถึง ความเป็นมาของคณะธรรมยุต ในเมืองนครพนม และ ขอให้ส่งตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กลับไปเพื่อเป็นกำลังสำคัญ ในการบริหารงานของคณะสงฆ์ต่อไป เมื่อเห็นความจำเป็นจนไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้พระภิกษุจันทร์ เขมิโย จึงเข้า เฝ้าสมเด็จพระสงฆราชเจ้าฯ เพื่อกราบทูลลา พระองค์ทรงมีพระเมตตาประทานโอวาท และ นโยบายในการบริหารงานคณะสงฆ์ธรรมยุต พร้อมทั้งได้ประทานกับปิยภัณฑ์เป็น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับ จำนวน 80 บาท (ในสมัยนั้น ถือว่าเป็นจำนวนมาก พอสมควร) นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ยังได้ประทานหนังสือเรียนทั้งนักธรรม และบาลี เป็นจำนวนมากมายบรรทุกรถลากได้ 3 คันรถ พระภิกษุจันทร์เดินทางจาก กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมาโดยรถไฟ ต่อจากนั้น จึงจ้างเกวียนบรรทุกสิ่งของและหนังสือ เดินทางผ่านจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ครั้งถึงหนองคายก็หมดระยะทางเกวียนต้องจ้องเรือกลไฟของผรั่งเศส บรรทุกสิ่งของไปตามแม่น้ำโขง จนกระทั่งถึงนครพนม นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระภิกษุจันทร์ เขมิโย ก็ทำหน้าที่บริหารงานคณะสงฆ์ อุทิศชีวิตเพื่อพิทักษ์ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
ท่านได้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยแผนใหม่ ขึ้นที่วัดศรีเทพฯ พร้อมทั้งได้เปิดสอนปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรม แผนกธรรมศึกษา และแผนกบาลี พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เป็นผู้มีปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส และ ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง ท่านเป็นพระนักพัฒนาที่ เอาจริงเอาจัง และ ทำงานอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากการบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้าง (วัดศรีขุนเมือง) ให้เจริญรุ่งเรือง มีพระอุโบสถ ศาลาบำเพ็ญกุศล เสนาสนะสงฆ์ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมาก นอกจากการพัฒนาทางด้านวัตถุแล้ว พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ ยังได้พัฒนาจิตใจของประชาชนควบคู่กันไปด้วย ในวันธรรมัสสวนะ ทั้งในและนอกพรรษา พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ ก็จะแสดงธรรมให้พระภิกษุสามเณร และอุบาสก อุบาสิกาฟังเป็นประจำ นอกจากนั้น ท่านเจ้าคุณยังได้แนะนำฝึกอบรมพระสงฆ์ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ให้ได้รู้จักปฏิบัติกรรมฐานเจริญสมาธิภาวนา เพื่ออบรมจิตใจให้มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม ในปี พ.ศ.2464 หลวงปู่พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ผู้เคยเป็นอาจารย์ของ ท่านเจ้าคุณได้ออกเดินธุดงค์กรรมฐาน แสวงหาวิเวกจากจังหวัดอุบลฯ มาถึงนครพนม และได้มาพำนักอยู่วัดศรีเทพประดิษฐาราม ซึ่งตอนนั้นยังเป็นป่าใหญ่เหมาะสมแก่การ บำเพ็ญเพียร พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ ได้ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์เสาร์ ไปด้วย โดยมุ่งข้ามไปฝั่งประเทศลาว เนื่องจากมีภูเขาสลับซับซ้อน มีถ้ำหรือเงื้อมเขา มากมาย ควรแก่การเข้าไปพักอาศัยบำเพ็ญภาวนาเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อท่านเดินธุดงค์ผ่าน ไปถึงหมู่บ้านใด ก็จะชี้แจงแสดงธรรมให้ชาวบ้านเข้าใจหลักพระพุทธศาสนา และ ให้ตั้งมั่น อยู่ในศีลห้า ต่อมา พ.ศ.2471 พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ และ ลูกศิษย์ได้ออกธุดงค์ ข้ามไปฝั่งประเทศลาวอีกครั้งหนึ่ง ผ่านเมืองต่างๆ ของลาว ไปจนถึงเขต ประเทศเวียดนาม เดินธุดงค์ต่อไป ผ่านเมืองท่าไฮฟอง เมืองเว้ เมืองไซง่อน ได้ประสบพบเห็นความทุกข์ยากลำบากของชาวเวียดนาม เพราะข้าวปลาอาหาร ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ คุณงามความดีที่พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ ได้ประพฤติปฏิบัติมาด้วยความ เพียรพยายามอย่างสุดความสามารถ ทำให้กิจการพระศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ สามารถปลูกศรัทธาปสาทะ ให้เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชน จึงทำให้ทางการบ้านเมือง และคณะสงฆ์เห็นความสำคัญของท่าน จึงได้ยกย่องเทิดทูนท่านไว้ในตำแหน่งสมณศักดิ์ ตามลำดับดังนี้:- พ.ศ.2474 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูสารภาณพนมเขต ตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนครพนม พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสารภาณมุนี พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารภาณมุนี พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ เป็นพระสงฆ์ที่แสดงธรรมได้จับใจไพเราะมีโวหารปฏิภาณดี ธรรมโอวาทของท่านที่พร่ำสอนพระภิกษุสามเณรและญาติโยมอยู่เสมอคือเรื่อง “การเตรียมตัวเตรียมใจ” ซึ่งมีใจความดังนี้ “เราเกิดมาในชาติหนึ่งๆ อย่าปล่อยให้ร่างกายของเรา เหมือนเรือไหลล่อง ผู้เป็นเจ้าของต้องเตรียมตัวระมัดระวัง หางเสือของเรือไว้ให้ดี ผู้ใดเผลอผู้ใดประมาท ผู้นั้นมอบกายของตน ให้เป็นเรือไหลล่องไปตามกระแสน้ำ ผู้นั้นเรียกว่า โง่น่าเกลียดฉลาดน่าชัง เป็นยาพิษ เรือที่เรานั่งไปนั้นหากมันล่มลงในกลางน้ำ จระเข้ก็จะไล่กิน กระโดดขึ้นมาบนดิน ฝูงแตนก็ไล่ต่อย คนเราเกิดมามีกิเลส เรียกว่า กิเลสวัฏฏะ เป็นเชือกผูกมัดคอ ผู้มีกิเลสต้องทำกรรม เรียกว่า กรรมวัฏฏะ ซึ่งก็เป็นเชือกมัดคออีกเส้นหนึ่ง ผู้ที่ทำกรรมไว้ย่อมจะได้เสวยผลของการ กระทำ เรียกว่า วิปากวัฏฏะ เป็นเชือกเส้นที่สามมัดคอไว้ในเรือนจำ เราทุกคนต้องสร้างสมอบรมปัญญา ซึ่งสามารถทำลายเรือนจำให้แตก ผู้ใดทำลายเรือนจำไม่ได้ ผู้นั้นก็จะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะนี้เรื่อยไป
เพราะฉะนั้น เราทุกคนจะต้องเตรียมตัวเป็นนักกีฬา ต่อสู้ทำลายเรือนจำให้มันแตก อย่าให้มันขังเราไว้ต่อไป คนเราจะไปสวรรค์ก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ ไปสู่อบายภูมิก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้องดำเนินชีวิตในทางที่ดีที่งาม อยากดีต้องทำดีเป็น อยากได้ต้องทำได้เป็น อยากดีต้องละเว้นทางเสื่อม ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ นิททาสีลี อย่าพากันนอนตื่นสาย สภาสีลี ผู้ใดอยากดี อย่าพากันพูดเล่น อนุฏฐาตา ผู้ใดอยากดี ให้พากันขยันหมั่นเพียร อลโส ผู้ใดอยากดี อย่าเป็นคนเกียจคร้าน ผู้ใดอวดเก่ง ผู้นั้นเป็นคนขี้ขลาดผู้ใดอวดฉลาดผู้นั้นเป็นคนโง่ ผู้ใดคุยโว ผู้นั้นเป็นคนไม่เอาถ่าน อยากเป็นคนดีต้องทำดีถูก เรียนหนังสือเพื่อรู้ ดูหนังสือเพื่อจำ ทำอะไรต้องหวังผล เกิดมาเป็นคนต้องมีความคิด อุบายเครื่องพ้นทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อื่นไกล หากแต่อยู่ที่มีสติสัมปชัญญะรอบคอบในทุกอิริยาบถ ด้วยเหตุนี้พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณหลวงปู่พระเทพสิทธาจารย์ เป็นพระเถระผู้ใหญ่มีอายุพรรษาสูง เปี่ยมล้นด้วยประสบการณ์ ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม มีพรหมวิหารธรรมเป็นที่ตั้ง กิริยามารยาทนุ่มนวล มีวาจาไพเราะ เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านจึงเป็นที่เคารพสักการบูชาของพระภิกษุสามเณร และ คฤหัสถ์ทั่วไป ผู้ที่เคารพนับถือท่านเจ้าคุณหลวงปู่มากก็มี สมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งมักไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ อีกรูปหนึ่งที่เคารพรักหลวงปู่มากถึงกับฝากตัวเป็นลูก คือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร องค์ปัจจุบัน สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรฯ มักจะเรียกหลวงปู่เจ้า

แสดงความเห็น

comments