พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นันตโร) พระครูผู้บูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม ครั้งที่ 5

0
2,738 views

พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นันตโร)

            ครั้น ณ วันเดือนอ้ายขึ้น 15 ค่ำ ปีนั้นแล ท่านพระครูพร้อมด้วยศิษย์ที่ติดตามมาก็ได้เริ่มทำความสะอาดพระบรมธาตุ ให้ตั้งเครื่องสักการะบูชา ขอขมาคาระวะพระบรมธาตุ ประกาศเทวาแล้วให้คาดนั่งร้านรื้อถอนต้นไม้ต้นหญ้าและกระเทาะซะทายที่หักพังคร่ำคร่าออก ชาวบ้านทั้งหลายไม่มีใครกล้าเข้ามาช่วยเพระกลัวอารักษ์ในพระบรมธาตุจะทำอันตราย แม้พระเณรในวัดก็พากันปิดประตูกุฏิหลบลี้ไม่กล้ามองดู เพราะหวาดเกรมอันตรายเช่นเดียวกัน
           ท่านพระครูเล่าว่าจะหาคนให้ช่วยเหลือยากมาก มีแต่โชยวงศา ผู้ใหญ่บ้านดอนกลางคนเดียวเข้ามารับใช้หยิบโน่นหยิบนี่ช่วย

ที่มา จาก facebook  คุณ : KM KO Sin

 

การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 5

 สมัยพระครูวิโรจน์  รัตโนบล

                ล่วงเข้าปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคนี้เข้าสู่ประวัติพระธาตุพนมสมัยใหม่ ภายใต้ระบบการปกครองส่วนกลางจากกรุงเทพฯ

                เมื่อครั้งพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจรย์เสาร์พระอุปัชฌย์ทา วัดบูรพารามเมืองอุบล พร้อมคณะพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ได้ธุดงค์มาจำพรรษาในบริเวณวัดพระธาตุพนม เห็นสภาพองค์พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนทั้งสองลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมากจึงคิดจะบูรณปฏิสังขรณ์ แต่ท่านไม่ชำนาญทางการช่าง จึงแนะให้ชาวบ้านไปเชิญพระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช วัดทุ่งศรีเมืองอุบลให้มาช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ใน พ.ศ. 2444 เพราะท่านมีชื่อเสียงเป็นพระที่เก่งทางวิปัสสนากรรมฐาน และมีความรู้เก่งทางช่างปั้นช่างเขียนอยู่ในขณะนั้น

                ท่านพระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช (บุญรอด สมจิต) ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2446 ท่านได้เดินทางมาพร้อมคณะโดยทางเกวียนถึงวัดพระธาตุพนม เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน อ้าย ปีเดียวกันนั้น

                แรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านและทางวัดเกรงความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุมาก มีความประสงค์ต้องการให้ทำความสะอาดและถอนพวกวัชพืชเถาเคลือทั้งหลายออกไปแต่พระครูวิโรจน์รัตโนบลต้องการจะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สง่างามทั้งองค์ ตกลงกันไม่ได้ท่านจึงเตรียมเดินทางกลับ ต่อมาชาวบ้านยอมจำนวนเพราะคนทรงเทวดาอารักษ์ขององค์พระธาตุอนุญาตให้ทำเช่นนั้น

                ครั้งนั้นก็ไม่มีชาวบ้านหรือพระเณรองค์ใดกล้าร่วมมือลงแรงบูรณะองค์ธาตุแต่ต้นมือ ด้วยเกรงอำนาจภูตผีองค์พระธาตุ จะบันดาลให้มีเพทภัยเกิดความเดือดร้อนพระครูวิโรจน์รัตโนบลกับคณะสานุศิษย์จึงต้องลงมือทำกันเอง

                ในวันแรกท่านให้พระเณรที่มาจากอุบล 10 รูป นั้นเอาไม้พาดเจดีย์ ชำระเคลือเถาต้นโพธิ์ต้นไทรออก ขุดโคลนน้ำท่าความสะอาด ชาวบ้านที่อยู่ในบ้านพระเณรในวัด ไม่มีใครกล้ามาร่วม ต่างพากันปิดบ้าน ปิดประตูกุฏิไม่กล้าส่องมองดู ด้วยเกรงว่าเทวดาจะหาว่าเป็นใจกับท่านพระครูวิโรจน์ฯ ท่านก็ทำต่อไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ วัน มีแต่เฒ่าชัยวงศาผู้ใหญ่บ้านดอนกลางเท่านั้นที่คอยมารับใช้ช่วยเหลือ พอผ่านไปได้ 7 วัน เห็นชาวบ้านธาตุมายืนขัดหลังดูภายนอก

                ต่อมาได้ 15 วัน คนทั่วสารทิศทราบข่าวการบูรณพระธาตุพนมต่างหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศทั้งฝั่งซ้ายฝั่งขวา ฝั่งขวาเจ้าเมืองท่าแขกยกหินปูนที่ภูเขาเหล็กไปให้ทั้งลูก เกณฑ์คนเป็นพันขนส่งจากเชิงเขาถึงฝั่งแม่น้ำโขงทางยาว 4 กม. โดยยืนเรียงแถว

                เจ้าเมืองสกลนครและหนองคายปวารณาให้ช้างใช้ลากเข็นตอนนี้ประชาชนภิกษุสามเณร คนแก่คนเฒ่าหนุ่มสาวลามไหลมาจากทุกทิศ ระหว่างดำเนินการบูรณะนั้นเป็นคราวประจวบเหมาะกับเกิดคดีผีบุญขึ้นที่อำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี ประชาชนเกรงไปตามคำนายของผีบุญว่าสัตว์เลี้ยงจะเป็นยักษ์ ของมีค่าทั้งหลายจะแปรสภาพเสื่อมค่าไป หินกรวดทรายจะกลับกลายเป็นเงินเป็นทอง เงินทองที่ครอบครองจะกลายเป็นกรวดหิน ชาวบ้านหวาดหวั่นตื่นกลัวข่าวลือกันทั่วไป

                เหตุนี้จึงมีผู้มีจิตศรัทธานำเงิน และสิ่งมีค่ามาบริจาคเป็นทุนให้พระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นทุนในการบูรณะองค์พระธาตุเป็นจำนวนมาก จนเกินงบประมาณที่ต้องการ มีเก็บไวเป็นทุนบูรณะครั้งต่อไปได้อีก

                ท่านพระครูวิโรจน์ใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมประมาณ 2 เดือน จึงสำเร็จ ถึงเดือน 3 วันเพ็ญได้ฉลองสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม จึงถือวันนี้เป็นประเพณีเทศกาลประจำปีตั้งแต่นั้นสืบมาจนทุกวันนี้

                การบูรณะองค์พระธาตุนั้น ได้ขูดกะเทาะปูนเก่าที่ชำรุดแล้วโบกใหม่ โบกปูนแต่พื้นถึงยอดและกำแพงที่ชำรุดต่าง ๆ เติมลายปูนเป็นบางส่วนทาสีประดับกระจกกระเบื้องเคลือบปิดทองส่วนบนติดดาวที่ระฆัง ลงรักปิดทองที่ยอด สิ้นทองคำเปลว 3 แสนแผ่น แผ่แผ่นเงินแผ่นทองคำขึ้นหุ้มยอดพระธาตุหมดเงินหนัก 300 บาท ทองคำหนัก 50 บาท แก้วเม็ด 200 แก้ว ประดับ 120 หีบ โปงทองหล่อ 1 ใบ มีทองหนัก 2 แสน บูรณะตั้งแต่ฐานชั้นที่ 3 ขึ้นไป ซ่อมแซมถึงกำแพงแก้วชั้นใน และชั้นกลาง ทาน้ำปูนพระธาตุและปูนลานพระธาตุ การบูรณะพระธาตุพนมของพระครูวิโรจน์รัตโนบลนั้นมีความสำคัญเทียบเท่ากับการบูรณะของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เมื่อ 200 ปีที่แล้ว เป็นการฟื้นฟูปลุกขวัญและชีวิตจิตใจของชุมชนขึ้นใหม่ หลังจากที่ซบเซาไปเป็นเวลาร่วมศตวรรษ

                หลังจากนั้นท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล ได้กลับมาสร้างซุ้มประตูหน้าวัดให้อีกใน พ.ศ. 1449 ในปลายปีนั้น สมเด็จฯกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ได้เสด็จมาพักแรมที่บริเวณวัดพระธาตุพนมในระหว่างเดินทางมาตรวจราชการมณฑลอิสาน พระองค์ท่านเกิดความเลื่อมใสในองค์พระธาตุจึงได้สร้างระฆังถวายไว้ 2 ลูก ทั้งยังให้ย้ายอำเภอเมืองเรณูนคร มาตั้งไว้ที่ตำบลธาตุพนมด้วย (ร.ศ. 126)

ข้อมูลจาก : http://www.dooasia.com

แสดงความเห็น

comments