พระติ๋ว – พระเทียม วัดโอกาส(วัดศรีบัวบาน) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

0
3,981 views

พระติ้ว – พระเทียม พระพุทธรูปปางมารวิชัยแกะสลักด้วยไม้ติ้ว ลงรักปิดทอง สร้างเมื่อพุทธศักราช ๑๓๒๘ สมัยศรีโคตรบูร “พระเจ้าศรีโครตบูรหลวง” รับสั่งให้นายช่างสร้างเรือ นายช่างได้ไปหาไม้หนอนมา จากดงติ้วเพื่อหนุน ท้องเรือ ขณะชักลากเรือ นั้นมีไม้ท่อนหนึ่งกระเด็นออกมาไม่ยอมให้เรือทับ

เป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้า ๓๙ ซม. สูง ๖๐ ซม. สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร
ปัจจุบันประดิษฐาน ณ บุษบกภายในอุโบสถ

สำหรับพระเจ้าติ้วนั้นเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูรอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดศรีบัวบาน พระครูกับยาพจน์ได้บันทึกประวัติวัดศรีบัวบาน ไว้ในหนังสือที่ระลึกงานนมัสการพระติ้ว วัดโอกาส ในระหว่างวันที่ ๑ – ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ว่า

สมัยหนึ่งเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูรมีความประสงค์จะมีเรือแข่งหลวงสักลำหนึ่ง จึงมีรับสั่งให้ราษฎรบ้านตอเฮือ (ปัจจุบันอยู่ที่บ้านอ่างคำ ตำบลนาทราย อำเภอเมือง นครพนม) เข้าป่าไปตัดไม้ เพื่อที่จะทำเรือแข่งโดยกำหนดว่าต้องเป็นไม้แคน (ไม้ตะเคียน) เพราะถือว่า ต้นตะเคียนแต่ละต้นมีนางไม้ที่มีอิทธิฤทธิ์สิงสถิตอยู่ ถ้าฝีพายทุกคนให้การเคารพกราบไหว้นางไม้หรือแม่ย่านางจะเป็นผู้บันดาลความ มีชัยในการแข่งขันทุกครั้ง

สมัยก่อนเมื่อจะตัดต้นตะเคียนต้องมีพิธีกรรมเซ่นไหว้เป็นการขอขมาบอกกล่าวกับแม่ย่านาง เพื่อแสดงความประสงค์ในการนำไม้ ไปใช้งานอย่างถูกต้อง กล่าวกันว่า ถ้าเป็นต้นตะเคียนที่มีฤทธิ์แรง เวลาเอาขวานไปพิงที่ต้นไม้ขวานยังกระเด็นไปเลยก็มี

ภายหลังที่ชาวบ้านอ่างคำจัดการล้มไม้ลงได้แล้ว ได้ช่วยกันเอาเครื่องมือตัด เลาะกิ่งก้านออกและวัดความยาวให้ได้ ๒๐ ว่า ส่วนที่ เหลือต้องตัดทิ้งออกให้หมด เมื่อจัดการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็รอเวลาชักลากขอนไม้ตะเคียนเข้าเมือง เพื่อให้ช่างถาก เหลา ขุด แต่งเป็นเรือแข่งให้เสร็จสมบูรณ์

การชักไม้ที่มีน้ำหนักมากจากสถานที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ก่อนนั้นใช้วิธีเอาไม้หมอนรองพื้นเป็นระยะๆ จึงจะทำให้เคลื่อนที่ไปได้สะดวก รวดเร็วและเบาแรง บรรดาช่างและชาวบ้านจึงช่วยกันตัดไม้เป็นท่อนๆ เพื่อ เพื่อรองรับเป็นไม้หมอนไว้เคลื่อนซุง จำนวนไม้หมอน หลายท่อนนั้นปรากฏว่ามี “ไม้ติ้ว” ปะปนอยู่ด้วยท่อนหนึ่ง เมื่อเอาไม้ติ้วท่อนนั้นไปวางและลากซุงมาทับแล้ว แทนที่จะหมุนกลิ้งไปเป็น ระยะๆ ตามไม้ท่อนอื่นๆ ไม้ติ้วท่อนนั้นกลับกลิ้งไปตามทิศทางขอนไม้เรือ อีกทั้งยังส่งเสียงดัง ติ้วๆๆ ยังความประหลาดใจให้แก่ผู้ที่ พบเห็นยิ่งนัก ปรากฏการณ์อัศจรรย์นี้ ทำให้ชาวบ้านพยายามทดลองจับไม้ติ้วใส่เข้าไปใหม่หลายครั้ง ผลลัพธ์ที่ออกมาก็เป็นเหมือน เดิมทุกครั้ง

ในที่สุดชาวบ้านอ่างคำจึงตัดสินใจนำเอาไม้ติ้วท่อนนั้นไปทูลเกล้าถวายเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูรพร้อมกับได้เล่าเหตุการณ์ประหลาด
ที่เกิดขึ้นให้ฟัง เจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูรเห็นเป็นนิมิตดี ชะรอยเทพยดาอารักษ์แห่งนคร ได้ส่งสิ่งที่เป็นมงคลมาให้จึงมีรับสั่งให้นำไม้ ติ้วท่อนนั้นไปให้ช่างแกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓๐ ซม. สูง ๖๐ ซม. จากนั้นลงรักปิดทอง พุทธาภิเษกเบิกพระ เนตร นำขึ้นสมโภชเป็นพระคู่บ้าน คู่เมืองนครศรีโคตรบูร โดยถวายพระนามพระพุทธรูปนั้นว่า “พระเจ้าติ้ว”

วัดโอกาสได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อจุลศักราช ๘๑๓ ตัว ตรงกับพุทธศักราช ๑๙๙๔ เดิมชื่อวัดศรีบัวบาน ตั้งอยู่ในหมู่บ้านโพธิ์ค้ำเมืองศรี โคตรบูรหลวง ปัจจุบันอยู่ทางฝั่งลาว สร้างโดยนายกองและชาวบ้านโพธิ์ค้ำที่มีความเลื่อมใสและศรัทธาในบวรพุทธศาสนา ต่อมามี การย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง จึงมีการสร้างวัดศรีบัวบานแห่งใหม่ขึ้นแทนพระอารามเดิม เพื่อความสะดวกใน การประกอบพิธีทางศาสนาของชาวบ้าน ระหว่างที่กำลังลงมือก่อสร้างวัดอยู่นั้น องค์พระเจ้าติ้วถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดธาตุ บ้านสำราญ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

อยู่มาวันหนึ่งเกิดเพลิงไหม้วัดธาตุบ้านสำราญ ทำให้ศาสนสถานถูกเพลิงเผาทำลายสิ้น รวมทั้งองค์พระเจ้าติ้วด้วย ชาวบ้านจึงพากัน กราบทูลพระเจ้าขัตติยวงศาฯ ทรงทราบ พระเจ้าขัตติยวงศา บุตรมหาฤาชัยไตรทศฤาเดชเชษฐบุรีศรีโคตรบูร จึงมีรับสั่งให้หาไม้มา แกะเป็นพระพุทธรูปขึ้นใหม่ โดยกำหนดพุทธลักษณะและขนาดเท่าเดิมแต่มิได้ลงรักปิดทองเหมือนพระเจ้าติ้วเพื่อเป็นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมือง นครพนมแทนพระเจ้าติ้วองค์เดิม

ต่อมาประมาณ ๒ – ๓ ปี ชาวบ้านบ้านสำราญจำนวนหนึ่ง พากันพายเรือออกไป ทอดแหหาปลาบริเวณกลางแม่น้ำโขงใต้เกาะโดน ทันใดนั้นเกิดลมบ้าหมูหมุนที่กลางแม่น้ำโขงใต้หางดอน บรรดาพวกหาปลาจึงนำเรือแอบเข้าฝั่งให้ห่างจากดอน และคอยเฝ้าดูเหตุ การณ์ ปรากฏว่ามีวัตถุอย่างหนึ่งหมุนติ้วตามลมบ้าหมูนั้น ยังความอัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก จึงตัดสินใจออกเรือไปพิสูจน์ดู

พอยกวัตถุดังกล่าวขึ้นจากน้ำ จึงทราบว่าสิ่งนั้นเป็นพระเจ้าติ้ว ที่วัดธาตุบ้านสำราญ ซึ่งทุกคนเข้าใจว่าถูกเพลิงไหม้เสียหาย พวกหา ปลามีความดีใจเป็นอันมาก พร้อมใจกันอัญเชิญพระเจ้าติ้วไปทูลเกล้าถวายเจ้าผู้ครองนครฯ

พระเจ้าขัตติยวงศาฯ ทรงปลื้มปีติโสมนัส จึงพระราชทานทองคำหนัก ๓๐ บาท ให้ช่างบุทองทั่วองค์พระเจ้าติ้ว อีกทั้งจารึกอักษรธรรม บอกวัน เดือน ปี เจ้าศรัทธา (ผู้สร้าง) รอบฐานองค์พระพุทธรูป พระราชทานนามองค์พระที่บุทองนั้นว่า “พระติ้ว”

ส่วนพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งโปรดให้ลงรักปิดทอง พร้อมกับพระราชทานนามว่า “พระเทียม” ขณะนั้นพอดีกับวัดศรีบัวบานได้สร้างเสร็จ เรียบร้อยแล้ว จึงได้อัญเชิญพระติ้ว พระเทียมไปประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้

ในเวลาเดียวกัน พระเจ้าขัตติยวงศา ฯ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ชาวเมืองจำนวนหนึ่งมีหน้าที่คอยดูแลรักษาและทำความสะอาด รวมทั้งการ ปฏิบัติต่อองค์พระติ้ว พระเทียม ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์งอกเงยของทางวัด มิให้ผู้ใดผู้หนึ่งมาเบียดบังไปเป็นสมบัติส่วนตัว ดัง นั้น บุคคลเหล่านี้จึงได้รับสิทธิพิเศษ คือ ยกเว้นการเสียภาษีอากรและไม่ต้องส่งส่วย ชาวเมืองพากันเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “พวกโอกาส” ด้วยเหตุนี้เมื่อวัดศรีบัวบานสร้างสำเร็จแล้ว จึงได้เพิ่มเติมชื่อว่า วัดโอกาส (ศรีบัวบาน)

ต้นตระกูลของชาวโอกาสมีนามว่า “นางเทียม” เมื่อถึงเทศกาลสรงน้ำพระติ้ว พระเทียม ก็จะมีการอัญเชิญดวงวิญญาณของนางเทียม มาสิงสู่ร่างของคนทรงเพื่อดวงวิญญาณของนางเทียมจะได้มาปฏิบัติและสรงน้ำพระติ้ว พระเทียมเป็นประจำทุกปี

สมัยก่อนเมื่อถึงวันปีใหม่ของไทยคือ วันสงกรานต์ ชาวบ้านจะอัญเชิญพระติ้ว พระเทียมขึ้นบนบุษบกเพื่อแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน เวลาจะ นำขึ้นบุษบกจะต้องอาราธนาบอกกล่าวเสียก่อน หลังจากอัญเชิญพระติ้ว พระเทียมขึ้นบุษบกแล้ว ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดเดินผ่านโดยไม่ทำ ความเคารพต่อองค์พระติ้ว พระเทียม บุคคลนั้นจะมีอันเป็นไปเกิดชักดิ้นชักงอจนต้องจุดธูปขอขมาต่อองค์พระติ้ว พระเทียมก่อน จึงจะหายเป็นปกติ

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ทางวัดโอกาส (ศรีบัวบาน) ได้สร้างหอประดิษฐานขี้น จึงได้อัญเชิญพระติ้ว พระเทียมไปประดิษฐานอยู่จนกระทั่ง ทุกวันนี้

ที่มา : http://www.danpranipparn.com/web/praput/praput193.html

แสดงความเห็น

comments