รัฐบุรุษ ของชาวเวียดนาม

0
2,937 views

 

         บ้านนาจอก หมู่ที่ 5 ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม ตั้งอยู่ห่างจากที่ตั้งอำเภอเมืองนครพนม ประมาณ 5 กิโลเมตร จัดตั้งเป็นหมู่บ้านประมาณ 110 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,611 ไร่ มีจำนวน 129 หลังคาเรือน ประชากร 734 คน เป็นชาย 359 หญิง 375 ราษฎร ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนาม นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพ ด้านการเกษตรและค้าขาย

         หมู่บ้านนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เนื่องจากในอดีต ช่วงสงครามอินโดจีน ประธานาธิบดีโฮจิมินห์พร้อมด้วยกลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์เพื่อกอบกู้เอกราชในพื้นที่จังหวัดนครพนม ในช่วงปี พ. ศ 2466 –2474 โดยพำนักอยู่ ณ ที่บ้านนาจอกแห่งนี้

         ท่านได้สร้างบ้านพักและจัดเครื่องใช้ไม้สอย โดยปัจจุบันยังเหลืออยู่บางส่วนเป็นหลักฐานซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในที่ดินนายเตียว เหงี่ยนวัน เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่

         ภายใต้การปกครองของนักล่าชาวฝรั่งเศส ที่ปกครองประชาชนชาวเวียดนามและประเทศอื่นในอินโดจีน แต่ละประเทศพยายามดิ้นรนต่อสู้เพื่อได้มาซึ่งเอกราช

         ขณะนั้น ท่านประธานฯ โฮจิมินห์ มีอายุเพียง 19 ปี เท่านั้น แต่โดยที่ท่านมีเลือดรักชาติ ซึ่งสืบสายจากบิดา ผู้เป็นนักศึกษาชั้นสูงและคงแก่เรียน จึงรู้สึกแค้น แทนประชาชนที่ถูกข่มเหงรังแกอย่างไม่เป็นธรรมตลอดเวลา ท่านคิดเสนอว่าจะขับไล่พวกฝรั่งเศส ออกไปให้พ้นประเทศอันเป็นที่รักและหวงแหนยิ่ง ได้อย่างไร

         ในที่สุด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2454 ท่านประธานฯ โฮจิมินห์ ได้ตัดสินใจเดินทางออกจากท่าเรือ “หญ่าโหร่ง” (Nharong) ซึ่งเป็นท่าเรือในเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม เพื่อหาทางกอบกู้เอกราชประเทศชาติ โดยท่านได้เดินทางไปเกือบทั่วทุกทวีป เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้และหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์

         30 ปี ต่อมา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2484 ท่านได้ย้อนกลับสู่ “ปั๊กบ๊อ” ภาคเหนือของประเทศเวียดนามและสามารถทำการกอบกู้เอกราชของประเทศเวียดนามได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็ได้ สถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในเวลาต่อมา

         ในช่วงเสี้ยวชีวิตหนึ่งก่อนการกอบกู้ประเทศเวียดนามได้สำเร็จ ท่านได้เดินทางจากประเทศอังกฤษร่วมกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ เข้าสู่ภาคกลางของประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่จังหวัดพิจิตรเพื่อปฏิบัติภารกิจกอบกู้ประเทศชาติ ระหว่างพำนักอยู่ที่นี่ท่านใช้ชื่อว่า “ จิ๋น “ ถึงแม้ว่าในขณะนั้นท่านยังหนุ่มแน่น แต่ชาวเวียดนามที่นี่ใช้ฉายาท่านว่า “ เฒ่าจิ๋น “ หรือ “ ผู้อาวุโสจิ๋น “ คงเป็นเพราะการเคารพนับถือในความปราดเปรื่องและสามารถของท่าน

         หลังสิ้นสุดภารกิจที่จังหวัดพิจิตร ท่านและคณะร่วมอุดมการณ์ก็เดินเท้าบุกป่าดงผ่านจังหวัดอุดรธานี–สกลนคร จนถึงนครพนม ซึ่งเป็นเส้นทางที่แสนจะลำบาก และใช้เวลาเดินทางหลายวันโดยแต่ละคนต้องแบกสัมภาระส่วนตัวของตนเอง การเดินทางที่แสนจะทรหดโดยในความคิดมุ่งแต่จะทำภารกิจให้สำเร็จจนลืมคิดถึงเท้าที่อักเสบบวมเป่ง เพื่อนร่วมเดินท่างต่างก็อยากจะแบ่งเบาสัมภาระให้ท่าน เพื่อลดความเจ็บปวดทรมานของเท้าที่บวมอยู่แต่ก็ได้รับคำตอบจากท่านว่า “ถ้าเราอดทนเดี๋ยวมันก็จะชินชาไปเอง” และยังได้อ่านบทกลอนเพื่อเป็นกำลังแก่ผู้ร่วมเดินทางว่า

                  “Duoi troi nay khong co viec gi de chi so long khong ben”

                  “ภายใต้ท้องฟ้านี้ไม่มีภาระกิจใดที่สำเร็จ ถ้าแม้นขาดความมุ่งมั่นและอดทน”

         เมื่อมาถึงนครพนมในปี พ. ศ 2466 ก็พบว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อยู่ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป. ลาว ณ จุดนี้ ง่ายต่อการเดินทางสู่ภาคกลางของประเทศเวียดนาม และคงสะดวกต่อการปฏิบัติภารกิจกอบกู้เอกราชประเทศเวียดนามตามเจตนารมณ์ของท่าน นอกจากนั้นที่นี่ยังมีชาวเวียดนามอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะที่หมู่บ้านนาจอก ซึ่งมีชุมชนชาวเวียดนามอาศัยอยู่ร่วมกันนับ 10 ชุมชน และอยู่กับชาวไทยที่นี่อย่างกลืนและมีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

         ในที่สุด ท่านประธานฯ โฮจิมินห์ ก็ได้ตัดสินใจพำนักที่บ้านนาจอกแห่งนี้เป็นเวลา 7 ปี ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับชาวบ้านกำลังมือก่อสร้างอาคารชมรมของหมู่บ้าน และท่านก็เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมและเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญจนงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีดังมีบทกลอนสรรเสริญว่า

                  Nha hop tac Ban May Bac gop phin xay เรือนชมรม “ลุง” มีส่วนร่วมก่อตั้ง
                  Som chicu Bac ganh dat khuan gaeh moc hang ngay เช้ายันค่ำ ทั้งขนดิน อีกช่างไม้
                  Bac xo go deo tay duc mong bao rat tot ฝีมือเลื่อย ไสกบครบกระบวน
                  Bac trong cay khe ngot mot ben duong giap san ว่างยังปลูกมะเฟืองหวานติดริมทาง
                  Hai ben cong cach gan Bac trong cay dua lua มะพร้าวไฟหนึ่งคู่ข้างประตูรั้ว
                  Doc theo duong giya hoa dam but Bac trong ชอบแดงบานสะพรั่งสองข้าวทาง
                  Chau thieu nhi hoi Bac trong hoa du เจ้าเด็กน้อยตั้งปุจฉาว่าเหตุใด”ลุ” จึงปลูกไม้ดอกนี้
                  Bac cuoi moi : Hom nay trong khong kho 4 mua dom doa do “ลุง” ยิ้มตอบชบาแดงก็ง่ายบานทั้งปี
                  Bac thich trong vi Bac yeu hoa do อีกทั้งปลูกเพราะ .”ลุง” ชอบดอกชบาดอก

         ระหว่างพำนักที่บ้านนาจอก ท่านก็ได้ใช้ชีวิตอย่างปุถุชนทั่วไป คือ ต้องทำมาหากินเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการประมงหรือการเกษตร ฯลฯ ในด้านการประมงท่านเป็นผู้ที่มีความชำนาญมาก จึงได้แนะนำให้ชาวบ้านรู้และเข้าใจในการจับสัตว์น้ำได้ถูกวิธี นอกจากนั้นก็ได้ทำการเกษตรปลูกพืชผักต่างๆ เช่นมะเฟือง มะพร้าว ต้นหมาก – พลู เป็นต้น

         เมื่อว่างจากงานท่านก็ยังแบ่งเวลาให้กับการศึกษาเล่าเรียนภาษาไทยวันละเล็กวันละน้อย มีบางคนถามท่านว่า แต่ละวันท่านเรียนเพียงไม่กี่คำแล้วเมื่อไหร่จะอ่านเขียนภาษาไทย ท่านก็ตอบไปว่า “ เรียนน้อยเข้าใจมาก ดีกว่าเรียนมากเข้าใจน้อย “ หลังจากนั้นเพียง 4 เดือน ท่านก็สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

         ท่านประธานฯ โฮจิมินห์ ยังได้กล่าวอีกว่า ประเทศไทยและเวียดนามเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงกัน พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ก็แผ่พระบาทมีปกเกล้าปกกระหม่อม

         จนชาวเวียดนามที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นได้อาศัยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข อีกทั้งประชาชนชาวไทยก็ล้วนเป็นผู้ที่มีจิตใจเมตตา และมีความเอื้ออาทรต่อชาวเวียดนาม โดยเฉพาะในช่วงที่ยากเข็ญ ก็ได้ให้การช่วยเหลือชาวเวียดนามมาตลอด ดังนั้น ท่านจึงมักจะพร่ำเตือนให้ชาวเวียดนามทุกคนที่อาศัยอยู่ที่นี่ ต้องพยายามและหมั่นเล่าเรียนภาษาไทยให้แตกฉาน เพื่อสามารถอ่านเขียนวิชาการต่างๆ จากหนังสือและตำราเรียนให้เกิดความฉลาดและเข้าใจ จะได้นำไปทำประโยชน์และพัฒนาสังคมที่เราอาศัยอยู่นี้ให้เจริญรุ่งเรือง อีกทั้งเราต้องรู้จักบุญคุณผืนแผ่นดินที่เราอาศัย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด นอกจากบ้าน ยังต้องเรียนรู้ในขนธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยให้ดีด้วย

                  ท่านประธานฯ โฮจิมินห์ได้ประพันธ์บทกลอนในเรื่องที่กล่าวมา ดังนี้
                  Nuoc viet va nuoc Thailand ประเทศไทยและเวียดนาม
                  Cung ch8ng chau a Dong Nam mot mien ต่างตั้งในแถบเอเชีย ร่วมทวีป
                  Con song Cuu lon noi lien มีน้ำโขงไหลโยง เชื่อมถึงกัน
                  Ngan nam Hai muoc lang gieng gan nhau แม้นานวันนับพันปีก็เคียงใกล้
                  และท่านยังได้ยกสุภาษิตอีกบทหนึ่งเป็นสิ่งเตือนใจชาวเวียดนามที่นี่ว่า
                  Di cho nguoi ta noh ยามอยู่ให้คนรักใคร่
                  O cho nguoi ta thuong ยามจากไกลจะได้อาลัยห่วงหา

         หลังจากที่ท่านพำนักอยู่ที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม อยู่ระยะหนึ่ง ก็ได้เดินทางจากไป โดยที่ชาวเวียดนามที่นี่ต่างก็ไม่รู้ข่าวคราวของท่านอีกเลย

         จนกระทั่ง 20 ปี ให้หลัง ในปี พ. ศ 2488 จึงได้รู้ว่า ท่านประธานฯ โฮจิมินห์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Vietnam danchucongl oa) ก็คือ เฒ่าจิ๋น หรือ ลุงโฮ (BacHo) อันเป็นที่รักยิ่งของชาวเวียดนามทุกคน ซึ่งครั้งหนึ่งท่านเคยมาพำนักที่บ้านนาจอก อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นั่นเอง

         เหตุการณ์ทั้งหมดทำให้ทุกคนคิดถึงบทกลอนบทหนึ่งของนักปราชญ์ โฮ ดึ๊ก เจ๋ (Cu do nho Ho-Duc -Cht) ท่านได้ประพันธ์ไว้เมื่อครั้งที่ได้พบท่านประธานโฮจิมินห์ที่บ้านนาจอกว่า

                  Thang ngay leu co nuoi mong lon เดือน-ปี รากหญ้าคิดการใหญ่
                  Trang roi ao sen dau nguoi tai แสงสูรย์ส่องหา ปราชญ์ได้บัวบัง

ที่มา : http://najok.com

แสดงความเห็น

comments