ศุลกากรนครพนม อายัดหินกรวดเกือบ 2 หมื่นคิว เพียงเดือนเดียวยึดแล้วกว่า 3 แสนคิว

0
921 views

วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม มอบหมายให้ พ.ต.อ. ณรัชต์พล เลิศรัชตะปภัสร์ นายด่านศุลกากรนครพนม ประสานงานกับหน่วยงานความมั่นคง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง  กรมเจ้าท่าสาขานครพนม เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมจัดระเบียบต่อเนื่อง ปัญหาผู้ประกอบการท่าทรายในพื้นที่ ลักลอบดูดทรายโดยผิดกฎหมาย รวมถึงลักลอบดูดหินทรายตามน้ำโขง เจตนาต้องการเลี่ยงการเสียภาษี แอบฉวยโอกาสแสวงผลประโยชน์จากการลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติ หลังมีชาวบ้านร้องเรียน พบผู้กระทำผิดในพื้นที่ อีกทั้งยังสร้างความเดือดร้อน เรื่องมลภาวะ ฝุ่นทราย รวมถึงหินทรายตกเรี่ยราด สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้สัญจรไปมา และส่งผลกระทบให เส้นทางสัญจรได้รับความเสียหาย

ล่าสุด พ.ต.อ. ณรัชต์พล เลิศรัชตะปภัสร์ นายด่านศุลกากรนครพนม สั่งการให้ นายณัฏฐ์กัญจ์กร เกตุสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ด่านศุลกากรนครพนม ประสานงานกับ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ปราบปรามจับกุมผู้ประกอบการที่กระทำผิดกฎหมายการขออนุญาตดูดทราย รวมถึง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560  โดยสามารถตรวจยึดหินกรวดนำเข้ามีพิรุธ ไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนทางศุลกากร ใน อ.ธาตุพนม 2 ราย คือ หจก.จุรีภัณฑ์วัสดุ และบริษัท กิจเจริญชัยธุรกิจคอนกรีต จำกัด ตรวจสอบอายัดหินกรวดทั้งหมด 13,000 คิว  หลังตรวจสอบสงสัยว่าหินกรวดดังกล่าวนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากรและเสียภาษีอย่างถูกต้อง  จึงอายัดทั้งหมดเพื่อตรวจสอบ และให้ผู้ประกอบการนำเอกสารหลักฐานเข้าชี้แจงที่มาภายใน 30 วัน  หากไม่สามารถชี้แจงได้ จะแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินการทางกฎหมาย และยึดของกลางตกเป็นของแผ่นดิน

 นายณัฏฐ์กัญจ์กร เกตุสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ด่านศุลกากรนครพนม เปิดเผยว่า  เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ประกอบการในพื้นที่ขออนุญาตนำเข้าหินทรายเป็นส่วนใหญ่ เพราะติดข้อกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถขออนุญาตดูดทรายแบบถาวรได้ เนื่องจากมาตรา 9 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการขออนุญาตให้ดูดทราย พ.ศ.2546 และการอนุญาตให้ดูดทราย ตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน 2556 ภายใต้การพิจารณาอนุญาต ของคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตดูดทราย หรือ กพด. ห้ามไม่ให้ดุดทรายในรัศมีเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง ประมาณ 1 กิโลเมตร ทำให้ปิดตัวลงตามกฎหมาย เหลือเพียงประเภทที่ 2 เป็นการขออนุญาตนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้กำกับดูแลของด่านศุลกากร ทำให้มีการลำลอบสำแดงเท็จ เลี่ยงภาษี  จึงได้เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบปราบปราม ตามนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ทำให้ในห้วงสองเดือนที่ผ่านมา ด่านศุลกากรนครพนมได้มีการอายัดหินกรวดจากผู้ประกอบการแล้ว 5 ราย รวมหินกรวดประมาณ 301,862 คิว (ลบ.ม.) มูลค่าประมาณ 51,316,540 บาท  ส่วนขั้นตอนหากไม่สามารถชี้แจงที่มาได้ ใน 30 วัน จะมีการดำเนอนคดี ทั้งแพ่ง และทางอาญา มีโทษทั้งจำทั้งปรับ
ที่มา : https://www.77kaoded.com

แสดงความเห็น

comments