ประวัติความเป็นมาของ “ไทญ้อ”

0
38,379 views

ไทญ้อ ท่าอุเทน นครพนม

ตามจดหมายเหตุของหลวงชำนาญอุเทนดิษฐิ์ (บาฮด กิติศรีวรพันธุ์) ต้นสกุลกิติศรีวรพันธุ์ เมื่อปีมะโรง สัมฤทธิศก 1170 พ.ศ. 2351 เป็นปีที่ 26 แห่งกรุงเทพมหานคร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 มีชนชาติพันธุ์เผ่าหนึ่งเรียกว่า “ไทญ้อ” อยู่ที่เมืองหงสาวดี ตอนเหนือของเมืองหลวงพระบางพระราชอาณาจักลาวปัจจุบัน เมืองหงสาวดีตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ในครั้งนั้นมีหัวหน้าใหญ่ชื่อ “ท้าวหม้อ” ภรรยาคนใหญ่ชื่อ “นางสุนันทา” ท้าวหม้อจะเป็นบุตรของผู้ใดไม่ปรากฎได้พาครอบครัวและบ่าวไพร่ประมาณ 100 คนล่องแพมาตามลำน้ำโขง เนื่องจากถูกเนรเทศ แต่จะเป็นด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ เข้าใจว่าคงชิงความเป็นใหญ่กัน เมื่อมาถึงนครเวียงจันทร์ท้าวหม้อขอสวามิภักดิ์เป็นข้าพึ่งโพธิสมภารของเจ้านครเวียงจันทร์ เจ้าอนุวงศ์ผู้ปกครองนครเวียงจันทร์จึงอนุญาตให้พาครอบครัว สมัครพรรคพวกไปตั้งเมืองอยู่ที่ปากน้ำสงคราม ซึ่งเป็นชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อสร้างเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้วเจ้าอนุวงศ์ได้ตั้งท้าวหม้อเป็น “ พระยาหงสาวดี” เมืองที่ตั้งขึ้นใหม่อยู่ปากน้ำสงครามข้างเหนือฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ให้นามว่า “เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี” 2 ได้ตั้งท้าวเล็กน้องชายท้าวหม้อเป็นอุปฮาตวังหน้า ภายหลังญาติพี่น้องท้าวหม้อและพลเมืองที่อยู่ในเมืองหงสาวดีทราบข่าวการเป็นเจ้าเมือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมือง จึงได้พากันอพยพครอบครัวตามมาประมาณ 500 คน พระยาหงสาวดี (หม้อ) มีบุตรชายคนใหญ่ชื่อ “ ท้าวโสม”

ต่อมาเมื่อบิจอ ศกจุลศักราช 1176 พ.ศ.2357 หลังจากสร้างเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรีได้ 6 ปี (ตรงกับแผ่นดินรัชกาลที่ 2 ) พระยาหงสาวดี (หม้อ) และอุปฮาดวังหน้า (เล็ก) ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นหนึ่งชื่อ “วัดศรีสุนันทามหาอาราม” ต่อมาเรียกชื่อว่า “วัดไตรภูมิ” ตั้งอยู่ที่ปากน้ำสงครามด้านเหนือ ปรากฏข้อความเป็นหลักฐานในแผ่นศิลาจารึก2 ซึ่งคุณพระบริบาลศุกกิจได้คัดจากแผ่นศิลาจารึกที่เขียนเป็นอักษรธรรม และแปลเป็นอักษรไทยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2457 มีความว่าดังนี้ “ พระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าล่วงลับไปแล้วได้ 2357 พรรษา เจ้าพระยาหงสาวดีทั้งสองพระองค์พี่น้อง ได้มาตั้งเมืองในที่นี้ให้ชื่อว่า ไชยสุทธิอุตตมบุรี ในปีจอ ฉศก ตรงกับปีกาบเสร็จในเดือน 4 แรม 11 ค่ำ วันอังคาร ภายนอกมีอาณาเจ้าราชวังหน้า กับเสนาอามาตย์สิบร้อยใหญ่ทั้งมาก ภายในมีเจ้าครูพุทธาและเจ้าอ่วงแก้ว เจ้าซาบา เจ้าซาสา เจ้าศรีธรรมา เจ้าสมเด็จพุทธา และพระสงฆ์สามเณรทุกพระองค์พร้อมกันมักใคร่ตั้งใจไว้ยังพระพุทธศาสนา จึงให้นามวัดนี้ว่า แผ่นศิลาจารึกนี้ยังเก็บไว้เป็นหลักฐานที่วัดไตรภูมิจนถึงปัจจุบัน วัดศรีสุนันทามหาอาราม ตามพระพุทธบัญญัติ สมเด็จพระพุทธองค์เจ้า ซึ่งมีจิตตั้งไว้ยังพระพุทธศาสนา สำเร็จในปีกดสีเดือนห้าเพ็ญ วันจันทร์ มื้อห่วงมด ขอให้ได้ดังคำมักคาบรารถนาแห่งฝูงข้าทั้งหลายเทอญ ”

เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรีเป็นเมืองขึ้นตรงต่อนครเวียงจันทร์ จวบจนถึงปีกุนอัฏฐศก จุลศักราช 1188 พ.ศ.2369 เป็นปีที่ 4 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงเทพมหานคร เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏต่อกรุงเทพฯ แต่ก็พ่ายแพ้แก่พระบรมเดชานุภาพ หนีไป เมืองญาน ครั้งที่ 1 ฝ่ายพระยาหงสาวดีก็พาบ่าวไพร่ข้ามโขงไปทางฝั่งซ้ายด้วยเกรงพระบรมเดชานุภาพ เพราะตนเป็นเมืองขึ้นเมืองเวียงจันทร์ขณะที่ข้ามโขงไปนั้นม้าตัวเมียชื่อ “อีก้อม” ได้ตายลง และได้ไปฝังไว้ที่หาดทรายแห่งหนึ่ง ต่อมามีผู้มาตั้งบ้านเรือนขึ้น จึงได้ชื่อว่า “บ้านหาดอีก้อม” ซึ่งยังมีปรากฏมาจนปัจจุบันนี้

เมื่อพาบริวารข้ามแม่น้ำโขงไปฝั่งซ้ายแล้ว ได้สร้างบ้านเมืองขึ้นที่กวนบุ่งลิงให้นามเมืองว่า “เมืองหลวงบุ่งลิง” ตั้งอยู่ได้ประมาณ 1 ปีเศษ พระยาหงสาวดีและอุปฮาดวังหน้าก็ถึงแก่กรรม เจ้ากรุงไว้อานาม พระเจ้าแผ่นดินเวียดนาม จึงได้แต่งตั้งกรมการเมืองบุ่งลิง ดังนี้

ท้าวพระปทุม เป็นเจ้าเมือง

ท้าวจารย์มา เป็นอุปฮาด

ท้าวจันทร์ศรีสุราช (โสด) บุตรพระยาหงสาวดี (หม้อ) เป็นราชวงศ์

ท้าวบุ เป็นราชบุตร

ทั้งนี้ให้ขึ้นตรงต่อเมืองญวน แต่คณะกรรมการเมืองไม่พอใจเพราะไม่ใช่ชาติพันธุ์เดียวกัน ทั้งการคมนาคมไปมาก็ไม่สะดวกเพราะห่างไกลกันมาก แต่ต้องจำใจเพราะอำนาจการปกครองและแสนยานุภาพของนครเวียงจันทร์ยังอ่อนแอมาก ได้คิดหาโอกาสที่จะกลับมาพิ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามอยู่เสมอ แต่ยังไม่สบโอกาส

ในปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช 1190 พ.ศ.2373 เจ้าอนุวงศ์ออกมาจากเมืองญวนกลับมานครเวียงจันทร์ คิดกบฏต่อกรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) เมื่อครั้งยังเป็นพระยาราชสุภาวดี ได้เป็นแม่ทัพใหญ่คุมไพร่พลมารบกับเจ้าราชวงศ์แม่ทัพฝ่ายนครเวียงจันทร์ ที่ค่ายบุกหวาน เจ้าราชวงศ์ต้องอาวุธในที่รบจึงหนีทัพกลับไปนครเวียงจันทร์ และหนีไปพึ่งญวนอีก แม่ทัพไทยตามจับเจ้าอนุวงศ์และครอบครัวได้ ส่งไปกรุงเทพฯ ยังไม่ได้แต่เจ้าราชวงศ์ พระยาราชสุภาวดีจัดให้พระวิชิตสงครามคุมทัพอีกกองหนึ่งไปตั้งที่เมืองนครพนม ให้ตรวจตราด่านคอยสืบจับตัวเจ้าราชวงศ์ และให้ราชวงศ์เสนาเมืองเขมราฐเป็นแม่ทัพอีกกองหนึ่ง คุมไพร่พลเมืองอุบล เมืองยโสธร จำนวน 180 คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่นั้น ให้รักษาปากน้ำสงครามอันเป็นด่านช่องทางของกองทัพนครเวียงจันทร์ เข้าออกให้กวดขันให้สืบจับเจ้าราชวงศ์นครเวียงจันทร์ต่อไป

ครั้นการศึกสงครามฝ่ายเมืองลาวสงบลงแล้ว ราชวงศ์เสนากับท้าวไชยบุตรอุปฮาดเมืองอุบล ท้าวขัตติยะกรมการเมืองอุบล ท้าวศีลา (บุตรราชวงศ์เสน) ซึ่งเป็นหัวหน้าใหญ่ ได้พร้อมกันปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม สร้างเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรีซึ่งทรุดโทรมอยู่นั้นให้ดีขึ้น และเกลี้ยกล่อมชาวเมืองคำเกิดคำม่วนให้ข้ามแม่น้าโขงมาตั้งภูมิลำเนาอยู่อยู่ในเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรีได้ 133 ครอบครัว และเรียกชื่อเมืองนี้ให้สั้นเข้าว่า “ไชยบุรี” พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ราชวงศ์เสนเป็นพระยาไชยวงศา และเป็นเจ้าเมืองไชยบุรี

ลุถึงปีมะเส็ง เบญจศก จุลศักราช 1195 พ.ศ.2376 เจ้าเมืองบุ่งลิงพร้อมด้วยฮุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร กรมการเมือง ท้าวเพี้ย จึงปรึกษากันเห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะกลับมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของรัชกาลที่ 3 เพราะญวนกำลังติดศึกกับไทยอยู่จึงอพยพจากเมืองบุ่งลิงมาพักอยู่ตอนหาดทรายกลางแม่น้ำโขง บริเวณบ้านร้างแขวงเมืองนครพนม แล้วเจ้าเมือง กรมการเมือง จึงขึ้นไปสืบดูที่เมืองไชยบุรี และตั้งใจว่าหากเมืองไชยบุรียังเป็นเมืองร้างว่างเปล่าอยู่ ก็จะพากันไปอยู่ตามเดิม ครั้นไปสืบดูแล้วปรากฏว่า ราชวงศ์เสน เมืองเชมราบ กรมการเมือง และแม่ทัพนายกฝ่ายไทยตั้งค่ายรักษาเมือง มีผู้คนอยู่กันหนาแน่นแล้ว กรมการเมืองหลวงบุ่งลิงจึงปรึกษาต่อราชวงศ์เสน ขอสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑสีมาอาณาจักกรุงเทพมหานครต่อไปจนชั่วลูกชั่วหลานราชวงศ์เสนพร้อมด้วยนายทัพนายกองจึงมีหนังสือบอกข้อราชการ พร้อมกับนำตัวเจ้าเมืองและกรมการเมืองหลวงบุ่งลิงลงไปหาแม่ทัพนายกองที่เมืองนครพนมจึงสั่งให้เจ้าเมืองและกรมการเมืองหลวงบุ่งลิงอพยพครอบครัว ไพร่พล จากดอนหาดทรายกลางแม่น้ำโขง มาตั้งอยู่ ณ บ้านท่าอุเทน ซึ่งร้างอยู่ เกลี้ยกล่อมให้ผู้คนฝั่งซ้ายในแขวงเมืองคำเกิด คำม่วง มารวมอยู่ด้วยเป็นอันมาก

ถึงปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช 1196 พ.ศ.2377 แม่ทัพฝ่ายไทยได้ตั้งพระปทุมเจ้าเมืองหลวงบุ่งลิงเดิม ให้เป็นพระศรีวรราชและเป็นเจ้าเมือง และยกบ้านท่าอุเทนร้างนั้นขึ้นเป็น “เมืองท่าอุเทน” อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ยังคงเดิม ให้เมืองท่าอุเทนขึ้นอยู่ในความปกครองของพระสุนทรราวงศา ผู้ว่าราชการเมืองยโสธรนครพนม และเมืองท่าอุเทนมีชายฉกรรจ์ 700 คน ผูกส่งส่วยปีละ 18 ตำลึง

ถึงปีจอ สัมฤทธิศก จุลศักราช 1200 พ.ศ. 2381 เป็นปีที่ 15 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงเทพมหานคร มีท้องตราโปรดเกล้าฯ ให้เมืองท่าอุเทนขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เป็นหัวเมืองจัตวา ขาดจากการปกครองของเมืองยโสธรนครพนม มีเมืองรามราชเป็นเมืองขึ้น (ในครั้งนั้นเจ้าเมืองรามราชคือ พระอุทัยประเทศ ชื่อเดิม ท้าวบัว เป็นเจ้าเมืองเชียงฮม อพยพผู้คนมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงคราวกบฏเจ้าอนุวงศ์ คุมครัว 458 คนไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านรามราช ซึ่งปัจจุบันเป็นตำบลรามราช ขึ้นกับอำเภอท่าอุเทน) ส่วนเขตเมืองท่าอุเทนนั้นไม่ได้แบ่งเพราะตั้งอยู่ในเขตเมืองนครพนม และให้ช่วยรักษาเขตแดนเมืองนครพนมไปพลางก่อน

พระศรีวรราช (พระปทุม) เจ้าเมืองท่าอุเทนคนแรกถึงแก่อนิจกรรมในปีใดไม่ปรากฎในจดหมายเหตุ มาปรากฏหลักฐานเอาต่อเมื่อถึงปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1232 พ.ศ.2412 พระศรีวรราช (การี) เจ้าเมืองคนที่ 2 ถึงแก่อนิจกรรม ทางราชการจึงตั้งท้าวอินทิสาร (พรหมมา) เป็นพระศรีวรราช ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองคนที่ 3 ให้ท้าวพระพรหมเป็นอุปฮาด ให้ท้าวพระคำก้อนเป็นราชวงศ์ ให้ท้าวบุญมากเป็นราชบุตร ส่งส่วยตามเดิม

ถึงปีขาล สัมฤทธิศก จุลศักราช 1240 พ.ศ.2421 พระศรีวรราช (พรหมมา) และท้าวพระพรหมถึงแก่อนิจกรรม ทางราชการจึงตั้งให้ท้าวบุญมาก ราชบุตรเป็นพระศรีวรราช1 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการการเมืองคนที่ 4 และเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย

เมืองท่าอุเทนเปลี่ยนฐานะจากเมืองเป็นอำเภอเมื่อ ร.ศ.128 พ.ศ.2453 มีขุนศุกกิจจำนงเป็นนายอำเภอคนแรก

ในสมัยที่ยังมิได้เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอนั้น เมืองท่าอุเทนจะมีโฮงพระยา(จวนผู้ว่าราชการ) 3 โฮง คือ

1. โฮงหลวง ของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนสุดท้าย ต้นสกุล กิติศรีวรพันธุ์

2. โฮงตึก ของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนที่สาม ต้นสกุล บุพศิริ

3. โฮงกลาง ของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนแรก ต้นสกุล วดีศิริศักดิ์

ปัจจุบันชาวไทญ้อมีภูมิลำเนากระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน ดังนี้

1. บ้านนายูง อำเภอกุมกวาปี จังหวัดอุดรธานี

2. บ้านท่าขอนยาง บ้านกุดน้ำใส บ้านยาง บ้านเหล่ากลาง บ้านโพน บ้านค้นธารราษฏร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

3. บ้านสิม บ้านหนองแวง บ้านสา อำเภอยางตลาด และบ้านหนองไม้ตาย อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

4. บ้านหนองแห่ง บ้านจำปา บ้านดอกนอ บ้านบุ้งเบ้า บ้านนาสีนวล อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

5. บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม บ้านท่าอุเทน บ้านไชยบุรี บ้านนาขมิ้น บ้านค้อ บ้านพระทาย บ้านโพนสวรรค์ บ้านรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม บ้านแพง บ้านนาขาม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม บ้านดงเย็น อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม บ้านศรีสงคราม บ้านนาเดื่อ บ้านนาหว้า บ้านเสียว อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ถึงปีขาล สัมฤทธิศก จุลศักราช 1240 พ.ศ.2421 พระศรีวรราช (พรหมมา) และท้าวพระพรหมถึงแก่อนิจกรรม ทางราชการจึงตั้งให้ท้าวบุญมาก ราชบุตรเป็นพระศรีวรราช1 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการการเมืองคนที่ 4 และเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย

เมืองท่าอุเทนเปลี่ยนฐานะจากเมืองเป็นอำเภอเมื่อ ร.ศ.128 พ.ศ.2453 มีขุนศุกกิจจำนงเป็นนายอำเภอคนแรก

ในสมัยที่ยังมิได้เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอนั้น เมืองท่าอุเทนจะมีโฮงพระยา(จวนผู้ว่าราชการ) 3 โฮง คือ

1. โฮงหลวง ของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนสุดท้าย ต้นสกุล กิติศรีวรพันธุ์

2. โฮงตึก ของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนที่สาม ต้นสกุล บุพศิริ

3. โฮงกลาง ของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนแรก ต้นสกุล วดีศิริศักดิ์

ที่มา : http://www.isan.clubs.chula.ac.th

แสดงความเห็น

comments