จารึกวัดพระธาตุพนม ๔

0
2,604 views

ผู้อ่าน ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. ๒๕๓๐)
ผู้แปล ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. ๒๕๓๐)
เชิงอรรถอธิบาย ๑. ธวัช ปุณโณทก : สังกาช = ศักราช ๒. ธวัช ปุณโณทก : ล่วง = เลย, ผ่านพ้น ๓. นวพรรณ ภัทรมูล : วสา = ปี ๔. ธวัช ปุณโณทก : เถิง = ถึง ๕. ธวัช ปุณโณทก : แม่น = ใช่ หรือ ตรง ๖. ธวัช ปุณโณทก : วัน ๗ = วันเสาร์

ที่มา : http://www.eighteggs.com/sac_complete/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2419

ชื่อจารึก จารึกวัดพระธาตุพนม ๔
อักษรที่มีในจารึก ธรรมอีสาน,
ศักราช พุทธศักราช  ๒๔๔๐
ภาษา ไทย,
ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๒๑ บรรทัด
วัตถุจารึก ศิลา
ลักษณะวัตถุ ด้านหลังของพระพุทธรูปศิลา
ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๕ ซม. สูง ๕๒ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดพระธาตุพนม ๔”
๒) ข้อมูลที่จัดแสดงใน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร กำหนดเป็น “จารึกพระพุทธรูปจำหลักหิน สมัยล้านช้างเวียงจันทน์ มีจารึกอยู่ข้างขวา”
ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานที่พบ กะตึบใกล้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
ปัจจุบันอยู่ที่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
พิมพ์เผยแพร่ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๒๙ – ๔๓๐.
ประวัติ ข้อมูลในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน ระบุว่า พบจารึกหลักนี้ที่พระเจดีย์รายด้านทิศตะวันตกขององค์พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และปัจจุบันยังอยู่ที่เดิมนั้น จากการสำรวจและถ่ายภาพจารึกที่วัดพระธาตุพนม โดยคณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ กลับไม่พบพระเจดีย์รายดังกล่าว แต่พบจารึกหลักนี้อยู่ใน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร
เนื้อหาโดยสังเขป ข้อความจารึกกล่าวถึงหัวครูจันทรา ว่าได้สร้างพระพุทธรูปศิลาไว้กับวัดธาตุพนม
ผู้สร้าง เจ้าหัวครูจันทรา
การกำหนดอายุ ข้อความจารึกบรรทัดที่ ๘ – ๙ ระบุ พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งตรงกับสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๖๓)
ข้อมูลอ้างอิง เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., ๒๕๕๐, จาก :
๑) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกวัดพระธาตุพนม ๔,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐), ๔๒๙ – ๔๓๐.
๒) กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร, นครพนม (กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ, ๒๕๔๓), ๑๗ – ๒๙.
๓) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓), ๓๖๑ – ๔๑๐.
ภาพประกอบ ภาพสำเนาจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย – ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, ๒๕๓๐)

แสดงความเห็น

comments